Marketing Mix ทฤษฎีพลิกโลก

ทุกวันนี้ที่การทำธุรกิจมีการแข่งขันสูง การทำการตลาดเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการทำธุรกิจที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เลย ผู้ประกอบการและทีมฝ่ายการตลาดจะต้องคอยหมั่นอัพเดทตนเอง เพื่อให้ตามทันโลกที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ ทำให้ผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอยู่ตลอดเวลา

แต่ทุกท่านทราบไหมครับว่า??

ถ้าพูดถึงหนึ่งในหลักพื้นฐานของการตลาดที่มีอยู่มาอย่างยาวนาน ได้รับการพิสูจน์มาแล้วทุกยุคทุกสมัย จนจะนับให้เป็นกฏเหล็กในการทำการตลาดอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ นั่นคือส่วนผสมทางการตลาด หรือ Marketing Mix นั่นเอง

ส่วนผสมทางการตลาด คือองค์ประกอบที่ต้องมี

หลายคนพอเห็นคำนี้ก็อยากหันหน้าหนี เพราะมันดูเป็นหลักการไม่ทันสมัยเอาเสียเลย แต่มันเปรียบเหมือนอากาศที่เราไม่มองไม่เห็น แต่เราก็ยังใช้อากาศในการหายใจนั่นแหละครับ มันสำคัญแต่มองไม่เห็นกัน เลยไม่ค่อยเห็นคุณค่า อยากลองให้นึกถึงตอนที่ไม่มีมันดูครับ

Marketing Mix ตั้งแต่ได้รับการนำเสนอครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน จะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

E. Jerome McCarthy

1. P : Product การออกแบบพัฒนาสินค้าและบริการ (E. Jerome McCarthy’s 4P; 1960)

สินค้าและบริการ ก่อนออกสินค้า ต้องศึกษาเรื่องพฤติกรรมการใช้และพฤติกรรมการซื้อของกลุ่มเป้าหมายหลัก, กลุ่มเป้าหมายรอง และผู้ที่มีอิทธิพลต่อการซื้อและการบริโภค รูป รส กลิ่น สี ที่นอกจากการใช้ การจับ การถือสินค้าแล้ว ส่งผลต่อภาพลักษณ์ผู้ใช้ด้วยหรือเปล่า ส่วนนี้จำเป็นต้องใช้ความรู้ของนักออกแบบและวิจัยสินค้าร่วมด้วยอีก กำหนดกลยุทธ์สินค้า (Product Strategy) อย่างไร ? สินค้าบางอย่าง คนซื้อไม่ได้ใช้คนใช้ไม่ได้ซื้อ หรือจะวิเคราะห์ SWOT ของสินค้าก็ได้ การวางแผนรูปแบบการให้บริการ ฯลฯ พ่วงกับทฤษฎีอื่น ๆ ได้อีกมากมาย

2. P : Price การตั้งราคา (E. Jerome McCarthy’s 4P; 1960)

การตั้งราคา ตั้งได้หลายแบบ จะขายให้คนกลุ่มไหน? mass, upper mass, high end หรือ luxury สินค้าบางประเภทกับลูกค้าบางกลุ่มมีความอ่อนไหวต่อราคาสูง ราคาต่างกันบาทเดียว ส่งผลต่อการไม่ตัดสินใจซื้อได้ แต่ในบางกลุ่ม ราคาที่ลงท้ายด้วย 99 อาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ ได้ลูกค้าไม่ตรงตามที่ต้องการ

3. P : Place ช่องทางการจัดจำหน่าย (E. Jerome McCarthy’s 4P; 1960)

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นสถานที่ขาย แต่ในทางการตลาด แปลว่า "ช่องทางการจัดจำหน่าย" ซึ่งมีทั้ง online และ offline แค่ offline อย่างเดียว ต้องศึกษาการเลือกซื้อของกลุ่มเป้าหมาย เพราะถ้าศึกษาให้ลึกลงไปอีก ว่าปกติมนุษย์มีการกวาดสายตาเป็นแบบไหน การจัด display การใช้ความเข้มแสง อุณหภูมิ และเสียง ณ จุดขาย ส่วนเรื่อง online ไม่ต้องพูดถึง มีช่องทางใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุกวัน

4. P : Promotion การส่งเสริมและสื่อสารการตลาด (E. Jerome McCarthy’s 4P; 1960)

ไม่ใช่แค่ "ลด แลก แจก แถม" อย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะนั่นเรียกว่า sale promotion เป็นส่วนประกอบหนึ่งของ "การส่งเสริมและสื่อสารการตลาด" เรื่องนี้รวมถึงการผลิตสื่อทางการตลาดที่จะสื่อสารกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย รวมถึงช่องทางในการสื่อสารด้วย สื่อแบบไหนที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายสนใจ เกิดภาพพจน์และส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ

Bernard H. Booms and Mary J. Bitner

5. P : People บุคลากร (Booms and Bitner’s 7P; 1981)

People ในที่นี้ หมายถึงบุคลากรในองค์กร หรือก็คือพนักงาน คนทำงานทุกระดับ ตั้งแต่พนักงานใหม่ ถึงผู้บริหารระดับสูง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะนิยมนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารการตลาดในอุตสาหกรรมงานบริการ เพราะจะเปรียบเทียบได้ชัดเจนกว่าในอุตสาหกรรมที่เป็นผู้ผลิตหรือจัดจำหน่ายสินค้า เนื่องจากในธุรกิจบริการ คนทำงานคือสินค้าหลัก ดังนั้นจะมีผลกระทบต่อการรับรู้ของผู้บริโภคโดยตรงถึงภาพลักษณ์ขององค์กร ให้มั่นใจในการให้บริการและเชื่อว่าจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการว่าจ้างองค์กรให้มาดูแล และสนับสนุนคุณภาพชีวิตประจำวันของผู้บริโภค

6. P : Process กระบวนการ (Booms and Bitner’s 7P; 1981)

Process คือกระบวนการโดยภาพรวมในการส่งมอบสินค้าและบริการ ตั้งแต่เริ่มต้นผลิตสินค้า ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือบริการหลังการขาย หรือในธุรกิจบริการ กระบวนการให้บริการเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดข้อหนึ่งที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า โดยในกระบวนการหนึ่งๆ อาจมีพนักงานหนึ่งคน หรือหลายคน ในการขับเคลื่อนกระบวนการ และในพนักงานคนหนึ่งๆ อาจมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบกระบวนการหลายๆ กระบวนการในเวลาเดียวกัน

7. P : Physical Evidence องค์ประกอบทางกายภาพ (Booms and Bitner’s 7P; 1981)

Physical Evidence หมายถึง องค์ประกอบทุกอย่างนอกเหนือจากตัวบุคลากร ที่ส่งผลสำคัญต่อการให้บริการ เช่น อุปกรณ์การทำงานต่างๆ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องอำนวยความสะดวก หรือการตกแต่งภายในสำนักงาน ซึ่งอาจรวมถึงสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีระหว่างการให้บริการ ในหลายครั้งเราอาจจะรวมถึงของที่ระลึก การออกแบบงานกราฟฟิกบนเอกสาร นามบัตร หรือแม้แต่ใบแจ้งหนี้อีกด้วย ทั้งนี้ในทุกๆ อย่าง เพื่อแสดงถึงความเป็นมืออาชีพ และคุณภาพในการให้บริการตรงตามที่ลูกค้าคาดหวัง

Larry Londre

8. P : Partners พันธมิตร (Larry Londre's 9Ps; 2007)

ในหลายครั้ง นักการตลาดมักไม่สามารถสร้างคุณค่าและสายสัมพันธ์ให้กับผู้บริโภคได้โดยลำพัง จำเป็นต้องทำงานใกล้ชิดร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ ไม่ว่าจะภายใน หรือภายนอกองค์กรของตนเอง รวมทั้งบุคลากรจากองค์กรอื่น ในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือต่างกัน โดยที่ผู้ร่วมงานทุกคนควรมีเป้าหมายสูงสุดในการทำงานร่วมกัน

9. P : Presentation การนำเสนอ (Larry Londre's 9Ps; 2007)

Presentation หมายถึงการดำเนินการตามกลยุทธ์ทางการตลาด ผ่านการนำเสนอผลงานในขั้นตอนต่างๆ แก่ลูกค้า ผู้ร่วมค้าทั้งส่งและปลีก ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด บุคลากรร่วมโครงการทั้งหมด ซึ่งอาจจะเป็นสัญลักษณ์หรือภาพลักษณ์ที่ใช้ร่วมกันอันใดอันหนึ่ง ทำให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมมีความรับรู้ถึงสินค้าหรือบริการร่วมกัน

ซึ่ง Presentation นี้ ตามที่ได้มีการนำเสนอโดย Larry Londre ได้เข้ามาเสริมความหมายของ Physical Evidence ให้กว้างขึ้น

10. P : Passion แรงขับเคลื่อน (Larry Londre's 9Ps; 2007)

Passion คือความรู้สึกร่วมที่จริงจังเข้มข้นในการขับเคลือนการทำการตลาด ตั้งแต่กระบวนวางแผน พัฒนาผลิตภัณฑ์ และการผลิต ร่วมถึงการตั้งราคา การทำงานส่งเสริมการตลาด สำหรับผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดการบริหารแบรนด์ หรือการตลาด ควรเริ่มจากความเชื่อมั่นในสินค้าหรือบริการที่คุณจะทำการตลาดและการขาย ส่วนมากจะเห็นผลงานได้ในการนำเสนอ (Presentation) ในงานของคุณ

ใครสงสัยตรงไหน หรืออยากรู้ลึกมากขึ้น
สามารถทักมาสอบถามทีมงาน MKT Solution ได้เลยครับ

Facebook
Twitter
LinkedIn
โดย ธิติ เขมการโกศล

โดย ธิติ เขมการโกศล

- MANAGING DIRECTOR MANA ATELIER CO.,LTD
- Co-Founder and Marketing Manager MKT Solution CO.,LTD
- PART-TIME INSTRUCTOR IN PROJECT DESIGN STUDIO , FACULTY OF ARCHITECTURE AND DESIGN, KING MONGKUT’S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
- GUEST LECTURER IN MATERIAL AND CONSTRUCTION, FACULTY OF ARCHITECTURE AND PLANNING, THAMMASART UNIVERSITY
- FREELANCE DESIGNER

MKT Academy

UP & Re Skill

แหล่งรวมความรู้ หลักสูตรออนไลน์ เรียนได้ไม่จำกัด
พัฒนาศักยภาพ สร้างโอกาสสู่อนาคต