Business

สูตรเพิ่มยอดขาย

หลาย ๆ ธุรกิจที่ต้องการเพิ่มยอดขาย แต่ยังไม่รู้จะเริ่มอย่างไร จับต้นชนปลายไม่ถูก ยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ จากปัจจัยภายนอกที่ยากจะควบคุม เช่น การแพร่ระบาดของโควิด 19 วัตถุดิบขึ้นราคา ค่าขนส่งขึ้นราคา ลูกค้าน้อยลง หรือแม้กระทั่งการที่ขายดีอยู่แล้ว แต่อยากให้ธุรกิจเติบโตขึ้นในส่วนของยอดขาย บทความนี้ MKT จะมาแชร์ไอเดีย และวิธีคิดในการเพิ่มยอดขายกันครับ 1. เพิ่มฐานลูกค้า วิธีนี้ดูจะเป็นวิธีพื้นฐานที่เป็นจุดตั้งต้น เมื่อยอดขายน้อยลง ก็ต้องเพิ่มจำนวนลูกค้า ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่การสร้างคอนเทนต์เพื่อสื่อสารไปยังคนจำนวนมาก เพื่อให้มีลูกค้าใหม่ ๆ เข้ามามากขึ้น เพิ่มงบการยิงโฆษณา เพิ่มช่องทางในการสื่อสารการตลาด เพิ่มความถี่ในการโพสต์คอนเทนต์ รวมไปถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพื่อให้กลุ่มลูกค้าใหม่ ได้ลองใช้สินค้าและบริการ แต่ในวิธีการนี้เรามุ่งเน้นไปที่การสร้างฐานลูกค้า ซึ่งคำว่า “ฐานลูกค้า” นั้น คือลูกค้าประจำที่ซื้อซ้ำต่อเนื่อง ซึ่งรอบการซื้อซ้ำ อาจช้าหรือเร็ว ไม่เท่ากันกับลูกค้าแต่ละราย ซึ่งฐานลูกค้าที่ว่านี้ เมื่อมีมากพอ จะทำให้ยอดขายเราค่อนข้างแน่นอน และเติบโตอย่างยั่งยืน 2. เพิ่มการซื้อต่อลูกค้าหนึ่งราย สำหรับวิธีการนี้ ก็สามารถเพิ่มยอดขายได้เช่นเดียวกัน และยังใช้เป็นกลยุทธ์ต่อเนื่องจากวิธีการเพิ่มฐานลูกค้าได้ด้วย หากเราประเมินแล้วว่า การเพิ่มฐานลูกค้าเพียงวิธีเดียว ไม่สามารถทำให้ยอดขายเติบโตได้ทันกับรายจ่ายของธุรกิจ โดยการเพิ่มการซื้อต่อรายนั้น …

สูตรเพิ่มยอดขาย Read More »

Survival mode : ธุรกิจเปิดโหมดเอาตัวรอดในยุคปัจจุบัน

ยุคที่ใคร ๆ ต่างนอนก่ายหน้าผาก คิดไม่ตกว่าจะปรับตัวไปในทิศทางไหนดี ในเมื่อเกือบทุกทางที่จะไป เต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม เมื่อตั้งแต่โลกหมุนเร็วจนเราแทบตามไม่ทัน ปัจจัยหลัก ๆ ที่เข้ามากระทบจัง ๆ อย่างรุนแรงเลยก็คือ COVID-19 ตามมาด้วยสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อค่าครองชีพของประชากรแทบจะทั่วโลก ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภค และการลงทุนของนักลงทุนต่างก็ลดลงไปตาม ๆ กัน ผู้ประกอบการรวมถึงผู้ที่คิดจะหันเหมาเดินอยู่บนเส้นทางของเจ้าของกิจการ จึงต้องคิดวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนขึ้น ซึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการและผู้นำองค์กรในยุคนี้จำเป็นต้องมีเลยมีอะไรบ้าง ? วันนี้เราจะมาพูดถึง 4 ทักษะที่จำเป็นต้องมีในการเอาตัวรอด 1. ทักษะการปรับตัว ต่อท้ายเน้น ๆ ด้วยคำว่า “เร็ว” เพราะโลกที่เปลี่ยนเร็ว พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนเร็วตามไปด้วย การวางแผนในยุคเดิม ๆ อาจมีการวางแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว แต่ยุคนี้เราแทบจะต้องวางแผนรายสัปดาห์หรือปรับแผนเป็นรายวันเลยก็ว่าได้ วันนี้น้ำมันขึ้น พรุ่งนี้ไฟฟ้าขึ้น และวันต่อ ๆ ไปอะไรจะตามมาอีก ผู้บริหารยุคใหม่นอกจากจะเก่งบริหารคน ยังต้องเก่งการบริหารกระแสเงินสดด้วย นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็ก เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านยังเจอปัจจัยที่เข้ามากระทบต่อกิจการอีกมาก เพราะฉะนั้น ทักษะการปรับตัวได้เร็วจึงสำคัญมาก ๆ 2. …

Survival mode : ธุรกิจเปิดโหมดเอาตัวรอดในยุคปัจจุบัน Read More »

STP วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายให้โดนใจ

ชัยชนะที่สำคัญในการทำธุรกิจ ไม่ใช่การเอาชนะคู่แข่งเพียงอย่างเดียว แต่ชัยชนะที่สำคัญที่สุดคือ การชนะใจลูกค้า STP จึงเป็นทฤษฎีสำคัญที่เราจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า เพราะยิ่งเรารู้จักความเป็นมาเป็นไป และพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าเราดีเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นเรื่องง่ายที่เราจะสื่อสารและวางกลยุทธ์เพื่อเอาชนะใจลูกค้าได้ดีเท่านั้น แถมยังประหยัดงบประมาณการตลาดได้อีกด้วย โดย STP ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. Segmentation : การแบ่งส่วนตลาด ในขั้นตอนนี้ เราจะใช้ 4 เกณฑ์หลัก ๆ ในการแบ่งส่วนตลาด ดังนี้ Demograpgic Segmentation แบ่งตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ สถานภาพสมรส รายได้ ฯลฯ Geographic Segmentation แบ่งตามลักษณะเชิงภูมิศาสตร์ เช่น เขตที่อยู่อาศัย จังหวัด ภูมิภาค หรือประเทศ รวมถึงขนาดของเมือง Psychograpgic Segmentation แบ่งตามลักษณะจิตวิทยา เช่น ความชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นสีที่ชอบ รสชาติที่ชอบ ดีไซน์ที่ชอบ Behavior Segmentation …

STP วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายให้โดนใจ Read More »

Unique Selling Point สร้างจุดต่าง ให้แบรนด์น่าจดจำ

ผู้ประกอบการหลายท่านที่เพิ่งสร้างแบรนด์ มีสินค้าหรือบริการที่ต้องการเป็นที่รู้จักและสร้างยอดขายได้นั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงข้อหนึ่งเลยคือความแตกต่างที่จะส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าหรือผู้บริโภค สิ่งนั้นคือ “unique selling point” คำคำนี้ในทางกลยุทธ์คือเรื่องของ “differentiates strategy” หรือกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง หากว่ากันด้วยเรื่องความแตกต่าง สามารถมองได้หลายมุมมอง ความแตกต่างของสินค้าในด้านฟังก์ชันการใช้งาน (functional) ความแตกต่างในด้านดีไซน์ที่ส่งผลในด้านอารมณ์ความรู้สึก (emotional) ความแตกต่างในด้านการเพิ่มมูลค่า (value added) ความแตกต่างในเรื่องของบริการเสริม (service) ความแตกต่างในด้านการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า (customer experience) และความแตกต่างในด้านอื่น ๆ ทั้งหมดทั้งมวลที่ว่ามานี้ ล้วนเป็นความแตกต่างที่ตอบโจทย์ในด้านความมีเอกลักษณ์ (unique) แต่อาจไม่ตอบโจทย์ในด้านการขายเสมอไป ซึ่งหากลองนำคำว่า unique selling point มาแกะ keywords ออกดูจะมีทั้งคำว่า “unique = เอกลักษณ์” และคำว่า “selling point = จุดขาย” ซึ่งการสร้างความแตกต่างหรือเอกลักษณ์ต้องเป็นจุดขายได้ด้วย ไม่ใช่ว่าสร้างแต่เพียงเอกลักษณ์แต่ไม่เป็นจุดขาย แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเอกลักษณ์ที่เราสร้างขึ้นมาเป็นจุดขายได้หรือไม่ ? การบ้านที่ผู้ประกอบการหรือนักการตลาดทุกท่านควรทำอย่างหนักคือ ข้อมูลของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการซื้อ พฤติกรรมการใช้ พฤติกรรมในการหาข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและใช้บริการในสินค้าประเภทนั้น …

Unique Selling Point สร้างจุดต่าง ให้แบรนด์น่าจดจำ Read More »

แชร์ประสบการณ์ปิดดีล 7 หลัก กับบริษัทมหาชน

ตั้งแต่เปิดบริษัทให้บริการด้านการตลาดครบวงจรมาได้ประมาณ 2 ปี มีโอกาสได้ดีลงานกับทั้งภาครัฐและเอกชน มีตั้งแต่โครงการหลักหมื่น จนไปถึง 8-9 หลัก แน่นอนว่าความยาก-ง่ายในการปิดดีล ขึ้นอยู่กับมูลค่าของโปรเจ็คต์ มีหลายปัจจัยที่มาเกี่ยวข้อง ถ้าเรารู้ล่วงหน้า เดาใจตัวละครแต่ละสถานการณ์ออก เตรียมข้อมูล และเตรียมตัวในการนำเสนอมาดี แนวโน้มที่จะปิดดีลได้ ก็เป็นไปได้สูง 1. คอนเนคชั่น เป็นปัจจัยที่จำเป็น แบบถ้าจะค้าน ก็ค้านได้ไม่เต็มปาก ว่าฝีมือดีแต่ไม่มีคอนเนคชั่น แล้วจะปิดดีลได้ เพราะคอนเนคชั่นเป็นเหมือนคะแนนจิตพิสัย ที่ถ้ามีคู่แข่งที่มาประกวดราคาประชันฝีมือในโปรเจ็คต์เดียวกัน ราคาและฝีมือพอ ๆ กัน “คอนเนคชั่น” จะเป็นตัวตัดสินว่าเราจะได้งานหรือไม่ได้งาน แต่ที่สำคัญที่เราจะได้แน่ ๆ คือข้อมูลวงใน การต่อรองที่สามารถเจรจาได้ง่ายกว่าการที่เราไม่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับคู่เจรจากันมาก่อนเลย 2. อ่านเกมให้ขาด ปัจจัยนี้ต้องใช้ประสบการณ์พอสมควร และต้องอาศัยข้อมูลค่อนข้างเยอะ ยิ่งโปรเจ็คต์ 7 หลักขึ้นไปนี่สำคัญมาก ต้องอ่านความต้องการของคู่เจรจา เตรียมเสนอในราคาที่เขารับได้ ในจังหวะเผยตัวเลขที่ถูกเวลา ซึ่งเรื่องตัวเลขที่คุยกัน ยังต้องค่อย ๆ แกะออกมาเป็นประเด็น ๆ ไป นำเนื้องาน มาเทียบกับข้อมูลราคาในท้องตลาด เทียบกับปริมาณงานและสเป็ก ยิ่งหากในโปรเจ็คต์นั้น …

แชร์ประสบการณ์ปิดดีล 7 หลัก กับบริษัทมหาชน Read More »

Business Life Cycle กฎธรรมชาติของการทำธุรกิจ

ผมอยากให้คุณทำเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของวัฏจักรธุรกิจก่อน เพื่อจะได้มองเห็นธรรมชาติของการทำธุรกิจว่าเป็นอย่างไร ซึ่งจะทำให้คุณเห็นภาพรวมของธุรกิจแต่ละช่วง ซึ่งอาจไม่ได้เป็นไปตามกราฟเป๊ะ ๆ แปรผันตามปัจจัยหลาย ๆ ส่วนของธุรกิจแต่ละประเภท แต่ถ้าหากคุณรู้ว่าธุรกิจของคุณอยู่ในช่วงไหนของวัฏจักร นั่นจะทำให้คุณสามารถเลือกกลยุทธ์และเครื่องมือ หรือกฎที่เรากำลังจะพูดถึงต่อ ๆ ไปได้อย่างแม่นยำขึ้น ว่าจะแก้ทางอย่างไร จะหยิบยกประเด็นไหนมาใช้นั่นเองครับ โดยในแต่ละช่วง ประกอบด้วย 1. ช่วงแนะนำ (Introduction) หากคุณเพิ่งเริ่มต้นธุรกิจ เริ่มปล่อยสินค้าออกสู่ตลาด เป็นช่วงที่คุณต้องเน้นการสร้างการเป็นที่รู้จัก (Brand Awareness) กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ทั้งกลุ่มเป้าหมายหลัก (Core Target) และกลุ่มเป้าหมายรอง (Secondary Target) รวมถึงกลุ่มผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผ่านแพลตฟอร์มที่สร้างการรับรู้ในวงกว้าง ควบคู่กับแพลตฟอร์มเฉพาะที่ตรงกับลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งในก่อนช่วงนี้คุณจะต้องทำการศึกษาตลาด เพื่อให้รู้ถึงกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการทดสอบสินค้าและบริการของคุณซะก่อน แต่ประเด็นหลักสำหรับบทนี้คือ อยากให้คุณเข้าใจวัฎจักรของธุรกิจ และรู้ว่าตัวเองอยู่ในช่วงไหนเพื่อจะได้ประเมินตัวเองได้ถูก โดยข้อสังเกตุง่าย ๆ ว่าคุณอยู่ในช่วงแนะนำนี้หรือไม่ ? 1. ยอดขายยังคงน้อย หรือแทบไม่มี 2. ต้นทุนที่ใช้ค่อนข้างสูง 3. กำไรน้อย หรือแทบไม่มี 2. ช่วงเติบโต (Growth) …

Business Life Cycle กฎธรรมชาติของการทำธุรกิจ Read More »